|
|
|
รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 055-009-936
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
   |
|
|
|
|
|
|
|
ตำบลบ้านยางเมื่อ 100 ปีที่แล้ว เป็นตำบลที่ขึ้นกับอำเภอพรหมพิราม มี 4 หมู่บ้าน 50 ปีต่อมาอำเภอวัดโบสถ์ได้ตั้งเป็นอำเภอใหม่ และได้แยกตำบลบ้านยางมาขึ้นกับอำเภอวัดโบสถ์ ช่วงแรกมี 4 หมู่บ้าน ต่อมาได้ขยายเป็น 10 หมู่บ้าน ปัจจุบันมี 11 หมู่บ้าน เหตุที่ตั้งชื่อว่าตำบลบ้านยาง เพราะมีต้นยางเกิดขึ้นจำนวนมาก
|
|
|
|
|
|
|
ตำบลบ้านยาง ได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2539 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับทั่วไป เล่ม 113 ตอนพิเศษ 52 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2540 |
|
|
|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 บ้านน้ำหัก ตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอวัดโบสถ์ ประมาณ 14 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดพิษณุโลก ประมาณ 42 กิโลเมตร ตำบลบ้านยางมีเนื้อที่ประมาณ 252 ตารางกิโลเมตร 157,500 ไร่ |
|
|
|
|
|
|
ตราสัญลักษณ์ อบต.บ้านยาง หมายถึง ความสามัคคีของคนตำบลบ้านยาง |

 |
ต้นไม้ หมายถึง ต้นยาง เป็นต้นไม้ประจำตำบลบ้านยางที่มีขึ้นอยู่ทั่วไป |

 |
มือประสาน หมายถึง ความสามัคคี และ ความมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน |
|
|
|
|
|
|
ทิศเหนือ |
ติดต่อ |
ต.หินลาด, ต.คันโช้ง |
อ.วัดโบสถ์ |
จ.พิษณุโลก |
|
 |
ทิศใต้ |
ติดต่อ |
ต.ท่างาม |
อ.วัดโบสถ์ |
จ.พิษณุโลก |
 |
|
ทิศตะวันออก |
ติดต่อ |
ต.บ้านกลาง |
อ.วังทอง |
จ.พิษณุโลก |
|
 |
ทิศตะวันตก |
ติดต่อ |
ต.หินลาด |
อ.วัดโบสถ์ และ อ.พรหมพิราม |
จ.พิษณุโลก |
 |
|
|
    |
|
   |
|
|
|
|
พื้นที่โดยทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง มีลักษณะเป็นที่ราบสูงสลับเชิงเขาที่ราบหุบเขา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ ทางทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออก ที่เหลือเป็นที่ราบลุ่ม กระจายอยู่ทางทิศตะวันตกของตำบล มีแม่น้ำแควน้อยไหลผ่านหมู่ที่ 3,6,7,8,9,10มีพื้นที่เขื่อนทดน้ำพญาแมน หมู่ที่ 3 ในฤดูฝนมีฝนตกหนักมักเกิดน้ำท่วมแทบทุกปี และในฤดูแล้งยังขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร
|
|
|
|
|
|
ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูหนาว และฤดูฝน ซึ่งทำให้มีช่วงฤดูฝนยาวนาน และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านทำให้ฤดูร้อน และฝนระยะเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ฤดูฝนมีน้ำมากเกินไป และฤดูร้อนเกิดการขาดแคลนน้ำอุปโภค - บริโภคในช่วงฤดูแล้ง |
|
|
|
|
|
|

 |
การเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านยาง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ นาข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด ยางพารา อ้อย และพืชผักต่างๆ |

 |
การปศุสัตว์ ประชาชนบางส่วนมีการเลี้ยงสัตว์วัว กระบือ หมู ไก่ แพะ |
|
|
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 6,476 คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน 3,211 คน |
คิดเป็นร้อยละ 49.58 |

 |
หญิง จำนวน 3,265 คน |
คิดเป็นร้อยละ 50.42 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,323 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 25.70 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
บ้านนาขาม |
407 |
416 |
823 |
308 |
|
 |
2 |
|
บ้านป่าคาย |
444 |
458 |
902 |
260 |
 |
|
3 |
|
บ้านน้ำหัก |
282 |
228 |
510 |
188 |
|
 |
4 |
|
บ้านน้ำคบ |
364 |
399 |
763 |
236 |
 |
|
5 |
|
บ้านพรหมมาศ |
419 |
452 |
871 |
267 |
|
 |
6 |
|
บ้านท่าเสดาะ |
230 |
241 |
471 |
175 |
 |
|
7 |
|
บ้านท่าแก่ง |
201 |
212 |
413 |
163 |
|
 |
8 |
|
บ้านหนองยาง |
106 |
101 |
207 |
82 |
 |
|
9 |
|
บ้านเนินตาเกิด |
366 |
394 |
760 |
275 |
|
 |
10 |
|
บ้านไร่สุขสมบูรณ์ |
160 |
144 |
304 |
127 |
 |
|
11 |
|
บ้านแก่งเจ็ดแคว |
232 |
220 |
452 |
242 |
|
 |
|
|
รวม |
3,211 |
3,265 |
6,476 |
2,323 |
 |
|
|
   |
|
|
|
|
|
|
 |
|
|